Saturday, March 26, 2011

ไม่มีตรงกลาง (คำแปล: ขนุน - Jake)

ไม่มีตรงกลาง – จิรา
คำแปล
ภาษาอังกฤษ

My English translation:

จะบอกอีกทีว่าฉันรักเธอ
I’ll tell you again that I love you.
จะบอกให้ฟังว่าฉันค้นเจอ
I’ll say it out loud that I’ve found what I’m searching for
ความหมายของการมีชีวิตอยู่
The meaning of this life
ก็รู้จากเธอไม่ใช่ใคร
is you, and no other.

จะบอกอีกทีถ้าไม่เชื่อกัน
I'll tell you again if you don’t believe.
จะบอกอีกทีว่าความสำคัญ
I'll tell you again that the most important thing
เธอนั้นเป็นที่หนึ่ง เหนือผู้ใด
Is that you are more than just someone,
และไม่มีใครนอกจากเธอ
for there to be no one other than you.
อย่ากลัวกับคนที่เขามานินทา
Stop being scared of everyone’s gossip.
อย่ากลัวว่าในแววตาฉันมีใคร
Stop being scared that there’s someone in that gleam in my eye,
เชื่อในรักเรา เชื่อในหัวใจที่ฉันให้เธอได้ไหม
Just believe in our love, just believe in the heart that I’m giving you, can’t you?
ใครจะพยายามแทรกกลางระหว่างเรา
Who will try to insert distance between us?
รู้ไว้นะว่าเขาไม่มีวันเข้ามาได้
Just rest knowing that there won’t be a day when they can get in.

จะไม่มีตรงกลางที่เหลือว่างเผื่อใคร
There won’t be any empty space left for them.

ถ้าใจเรายังผูกกัน
if our hearts just stay intertwined.

ใครจะพยายามยุยงให้สั่นคลอน
Who will try to render us unsteady?
รู้ไว้นะทุกครั้งฉันนอนหลับตาฝั
Just rest knowing that every time I fall asleep,
เห็นแค่ภาพเรารักกันยาวนาน
I see only the image of us loving one another indefinitely
จนถึงวันที่ฉันแต่งงานกับเธอ
Until the day I can finally marry you.
จับผิดระแวงกันทุกวี่วัน
If we reproach and doubt each other every day,
นั่นมันยิ่งทำให้ความสัมพันธ์
That deeply degrades our relationship,
มันเริ่มที่จะจืดจางหายไป
Desolately pushing us apart.
แค่ไว้ใจกันได้ไหมเธอ
can we please just rely on each other?
อย่ากลัวกับคนที่เขามานินทา
Stop being afraid of people gossiping.
อย่ากลัวว่าในแววตาฉันมีใคร
Stop being afraid that the gleam in my eye belongs to another.

เชื่อในรักเรา เชื่อในหัวใจที่ฉันให้เธอได้ไหม
Believe in our love, believe in the heart that I’ve given you, can’t you?
ใครจะพยายามแทรกกลางระหว่างเรา
Who will try to insert distance between us?
รู้ไว้นะว่าเขาไม่มีวันเข้ามาได้
Just rest knowing that there won’t be a day when they can get in.
จะไม่มีตรงกลางที่เหลือว่างเผื่อใคร
There won’t be any empty space remaining for them.
ถ้าใจเรายังผูกกัน
as long as we keep our hearts intertwined.
ใครจะพยายามยุยงให้สั่นคลอน
Who will try to render us unsteady?
รู้ไว้นะทุกครั้งฉันนอนหลับตาฝั
Just rest knowing that every time I sleep,
เห็นแค่ภาพเรารักกันยาวนาน
I see only the image of us loving one another indefinitely
จนถึงวันที่ฉันแต่งงานกับเธอ
until the day I can finally marry you.


Thank you to my boyfriend for the translation and love he gives me :)

Thursday, March 12, 2009

ลดทุน/ลด Par, แตก Par, เพิ่มทุน


A. จุดประสงค์การลดทุน(ไม่ลดจำนวนหุ้น)ทำเพื่อล้างหรือลดขาดทุนสะสมจะกระทบ รายการบัญชีในส่วนผู้ถือหุ้น (Equity) ในงบดุล เป็นการปรับตัวเลขบัญชีให้ตรงกับความเป็นจริง (ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับงบกำไรขาดทุน งบกระแสเงินสด) บัญชีที่เกี่ยวข้องมีดังนี้

ทุนจดทะเบียน - หุ้นสามัญ
ทุนที่ออกและชำระแล้ว - หุ้นสามัญ
ส่วนเกินทุน (ขายหุ้นสูงกว่าราคาพาร์)
ส่วนต่ำกว่ามูลค่าหุ้น (ขายหุ้นต่ำกว่าราคาพาร์)
กำไรสะสม - ยังไม่ได้จัดสรร
รวมส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทใหญ่

B. ตัวอย่าง ในปี 2546 บริษัท xyz ได้จดทะเบียนเงินทุน 10,000.00 บาท โดยออกหุ้น 1,000 หุ้นๆละ 10.00 บาท ขายหุ้นหมดได้รับเงินมาเรียบร้อย ระหว่างดำเนินงานของปีมีกำไร 1,000.00 บาท สิ้นปีงบดุลย์แสดง
(๑) เงินทุน 10,000.00 บาท
(๒) กำไรสะสม 1,000.00 บาท
(๓) สัดส่วนผู้ถือหุ้นเพิ่มเป็น 11,000.00 บาท หรือ มูลค่าทางบัญชี 11.00 บาทต่อหุ้น

B.1 ในปี 2547 กิจการขาดทุน 2,000.00 บาท สิ้นปีงบดุลย์แสดง
(๔)เงินทุน 10,000.00 บาท
(๕) กำไรสะสมปีที่แล้วกลับมาเป็น ขาดทุนสะสม -1,000.00 บาท
(๖) สัดส่วนผู้ถือหุ้นเพิ่มเป็น 9,000.00 บาทลดลง หรือ มูลค่าทางบัญชี 9.00 บาทต่อหุ้น นั้นหมายถึงว่าเงินที่ลงไป 10.00 บาท เหลือ 9.00 บาท

B.2 ในปีต่อๆมา กิจการขาดทุนเพิ่มอีก 7,000.00 บาท งบดุลย์แสดง
(๗)เงินทุน 10,000.00 บาท
(๘) ขาดทุนสะสม -8,000.00 บาท เพิ่มขึ้น
(๙) สัดส่วนผู้ถือหุ้นเพิ่มเป็น 2,000.00 บาทลดลง หรือ มูลค่าทางบัญชี 2.00 บาทต่อหุ้น นั้นหมายถึงว่าเงินที่ลงไป 10.00 บาท เหลือ 2.00 บาท

B.3 บรัษัทต้องการล้างหรือลดขาดทุนสะสมเพือสะส้างปรับบัญชีให้ตรงความเป็นจริง ในเมื่อทุนที่ลงไป 10.00 บาทหายไปแทบหมดเหลือเพียง 2.00 บาท บริษัทขอลดทุนจดทะเบียนเป็น 2,000 บาท พาร์ 2.00 บาทโดยไม่ลดจำนวนหุ้น 1,000 หุ้น งบดุลย์แสดง
(๑๐) เงินทุน 2,000.00 บาท
(๑๑) ส่วนเกินขายหุ้นสูงกว่าพาร์ 8,00.00 บาท
(๑๒) ขาดทุนสะสม -8,000.00 บาท
(๑๓) สัดส่วนผู้ถือหุ้น 2,000.00 บาทเท่ากับทุนจดทะเบียน หรือ มูลค่าทางบัญชี 2.00 บาทต่อหุ้น เป็นการเริ่มต้นชีวิตใหม่
(๑๔) บริษัทสามารถขออนุมัติจาก กลต หรือ ตลท แล้วแต่กรณี นำ ข้อ (๑๑) มาล้างขาดทุนสะสมในข้อ (๑๒) หมดไปได้จะทำให้บริษัทสามารถจ่ายปันผลได้

C. บริษัทสามารถขอแตกพาร์จาก 2.00 บาท เป็น 1.00 บาท โดยขอเปลี่ยนทุนจดทะเบียนส่วนราคาพาร์และจำนวนหุ้นเพิ่มเป็น 2,000 หุ้น จำนวนเงินไม่เปลียนแปลง 2,000 บาทที่เหลืออยู่

D. หลังจากปรับตัวเลขตรงความเป็นจริง บริษัทสามารถหาผู้มาร่วมทุน บริษัทขอจดทะเบียนเพิ่มทุนเป็น 10,000 บาท ราคาพาร์ 1.00 บาท จำนวนหุ้น 10,000 หุ้น หุ้นที่เพิ่มขึ้น 8,000 หุ้น (จาก ข้อ C) นำออกขายที่ราคาเท่าไร(ส่วนใหญ่ไม่ต่ำกว่าราคาพาร์)ก็แล้วแต่ผู้บริหาร เงินที่ได้มาก็จะเพิ่มกระแสเงินสด

E. ลดทุน แตกพาร์ เพิ่มทุน บริษัทจะเลือกวิธีหนึ่งวิธีใด หรือสองใด หรือทั้งสามวิธีพร้อมๆกัน เช่น nwr ได้ทำมาแล้วเมื่อเร็วๆนี้ที่ผ่านมา

F. ลดหรือล้างขาดทุนสะสมได้ดังนี้ (๑) ลดทุนจดทะเบียน (๒) เพิ่มทุนขายหุ้นใหม่เกินราคาพาร์ สามารถขออนุมัติเอาส่วนเกินมูลค่าราคาพาร์มาลดหรือล้างขาดทุนสะสม แต่ว่าถ้ามี "ส่วนต่ำกว่ามูลค่าหุ้น (ขายหุ้นต่ำกว่าราคาพาร์ในอดีต)" ต้องนำส่วนเกินไปล้างให้หมดก่อนส่วนเหลือนำมาล้างขาดทุนสะสม (๓) กำไรจากผลประกอบการ (๔) กู้เงินมามันก็เป็นเงินคนอื่นไม่ใช่เงินของบริษัทจะนำไปลดหรือล้างขาดทุน สะสมไม่ได้ ย้ำ ไม่ได้

แตกพาร์ มักจะเป็นกระบวนการตรงกันข้ามกับ ลดพาร์ครับ

ลดพาร์เพราะกิจการขาดทุนต้องลดค่าพาร์ให้เหมาะสมค่าค่าทางบัญชี ไม่งั้นไม่มีใครเข้าร่วมหุ้นเพิ่มด้วย
ส่วนแตกพาร์เพราะราคาหุ้นทางบัญชี เพิ่มสูงมากจนไม่มีใครอยากซื้อขาย จึงแตกพาร์ หรือแบ่งหุ้นออกเป็น หลายๆส่วนเท่าๆกัน เช่น 10 ส่วน ก็ทำให้ราคาหุ้นที่เคยพุ่งสูงสัก 300 บาท ลดลงมาเป็นแค่ 30 บาท เมื่อมองเทียบกับหุ้นตัวอื่นๆ ก็ดูไม่แพง น่าซื้อเหมือนเดิม แต่ถ้าหากมองค่า p/e แล้ว ก็ลดลงตามส่วนที่แบ่งพาร์ออกไปเช่นกันครับ (ที่จริงก็เป็นการแบ่งหุ้น หรือเพิ่มจำนวนหุ้น แต่เวลาเรียก ดันไปผูกกับค่าหุ้นแรกเริ่มเข้าตลาดหลักทรัพย์ คือ ค่าพาร์ ที่นิยม 10บาท/ หุ้น พอแตกหุ้นเป็น หลายๆส่วน ค่าพาร์ก็ลดตามจำนวนส่วนที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง และนั่นก็มีผลต่อค่าทางบัญชีไปด้วย เพราะจำนวนหุ้นที่นำมาหารค่าทุน มันเพิ่มขึ้นด้วย ส่วนราคาหุ้นในตลาดก็ขึ้นอยู่กับ ความพอใจของของผู้ซื้อขายกันครับ แต่ทางปฏิบัติเมื่อมีการแตกพาร์ ก็จะมีการแจ้งจากบริษัทไปยังผู้ถือหุ้นว่ามีการแตกพาร์แล้วเท่าใด ทำให้ราคาหุ้นเดิมลดลงและจำนวนหุ้นที่แต่ละคนถือก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน ราคาซื้อขายก็เลยลดลงไปตามส่วนครับ)

ทำไมราคาหุ้นทางบัญชีเพิ่มขึ้น?
เพราะบริษัทมีกำไรครับ เลยทำให้มูลค่าสินทรัพย์หรือทุนเพิ่มขึ้น อีกนัยหนึ่งก็คือไม่เอากำไรไปจ่ายปันผลให้หมด บางส่วน(ส่วนใหญ่)ก็นำกลับมาเก็บไว้เป็นทุนครับ เลยทำให้มูลค่าหุ้นทางบัญชีเพิ่มขึ้นครับ

from: http://topicstock.pantip.com/sinthorn/topicstock/I3884417/I3884417.html

Wednesday, January 21, 2009

ทราย


คืนนี้รู้สึกเหงาๆ และนึกถึงเรื่องที่ไม่ค่อยจะดีอะไรบางเรื่อง ทำให้เศร้าๆไป...
บางเรื่องเรากลับจำไม่ลืม ปล่อยไม่ลง วางไม่เป็น ยังคงยึดติดกับมัน กับภาพเก่าๆ เรื่องในอดีต ที่ไม่อาจจะหวนกลับมาได้อีก...
และก็แปลก ที่บางเรื่องเรากลับไม่เอามันมาเป็นสาระสำคัญอะไรของชีวิตเลยด้วยซ้ำ

ความรัก ความหลง ความสุข ความผิดหวัง ความเจ็บปวด ความทุกข์ และความโง่
จะมีคนที่โชคดีซะกี่คนที่รู้ว่ามันต่างกันยังไง?
ผมคงไม่ใช่คนเดียวที่แยกไม่ออกใช่ป่าวคับ...

และคงไม่แปลกที่คนๆนึงอาจจะรู้สึกอ่อนแอได้บ้างเป็นบางครั้ง
ผมได้แต่หวังว่าพรุ่งนี้จะมีแรงขึ้นมายืนขึ้น และสู้ต่ออีกครั้ง
เพียงแต่ผมต้องตอบคำถามให้ได้ก่อนว่า อันที่จริงแล้ว
"ผมสู้เพื่ออะไรอยู่?" ... "เพื่อใคร?"...

เพื่อนผมสอนผมไว้ว่า:
ความรักก็เหมือนทราย ...
หากเรากำแน่นไป ทรายก็จะหลุดออกมาตามรอยแยกของมือได้
แต่ถ้าเรากำหลวมเกินไป มันก็จะร่วงออกจากมืออีก
เราต้องเรียนรู้ที่จะกำมันให้พอดีๆ ไม่หลวมเกินไป ไม่แน่นเกินไป หากแต่มีช่องว่างให้มันบ้าง
เท่านี้ทรายก็จะอยู่ในมือเราตลอดไป

ขอบคุนนะเวช... ขอบคุนที่คอยให้มุมมองอะไรดีๆแบบนี้กับบอน
แด่เพื่อนผมคนนึง

Monday, January 12, 2009

Depository Reciept (DR)


DR เป็นหลักทรัพย์ชนิดเปลี่ยนมือได้ชนิดหนึ่งที่ซื้อขายกันในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศหนึ่งๆ แต่เป็นตัวแทนหลักทรัพย์ (มักจะเป็นตราสารทุน) ที่ออกโดยบริษัทมหาชนต่างประเทศอีกทีหนึ่ง โดยนักลงทุนดังกล่าวจะได้สิทธิในการถือหุ้นต่างๆ รวมถึง สิทธิในการออกเสียง และสิทธิในเงินปันผลเหมือนนักลงทุนในต่างประเทศที่ออกหลักทรัพย์ดังกล่าวทุกประการ
DR จึงเหมือนกับใบสำคัญใบนึงที่เปิดโอกาสให้นักลงทุนมีสิทธิถือครองตราสารทุนของประเทศอื่นๆนั่นเอง

ADR (American DR):
เป็น DR ที่ออกภายในประเทศอเมริกา และมีการซื้อขายกันในตลาดหลักทรัพย์ที่อเมริกา เช่น NYSE และ AMEX โดยเปิดโอกาสให้นักลงทุนชาวอเมริกันในการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศทั่วโลก โดยหลักทรัพย์จริงๆในต่างประเทศที่ DR อ้างถึงจะถูกถือครองด้วยสถาบันทางการเงินของประเทศอเมริกาที่มีสาขาอยู่ ณ ประเทศนั้นๆ
(ทั้งนี้ ส่วนต่างราคาเมื่อขาย และเงินปันผลจะถูกแสดงเป็นหน่วยดอลล่าสหรัฐ)

GDR (Global DR):
มีลักษณะคล้ายกับ ADR แต่ GDR จะออกร่วมกันหลายๆประเทศ เพื่ออ้างอิงถึงหลักทรัพย์ในต่างประเทศใดๆประเทศหนึ่ง ซึ่งมักจะถูกซื้อขายกันในตลาดหลักทรัพย์ที่ยุโรป เช่น London Stock Exchange
(ทั้งนี้ ส่วนต่างราคาเมื่อขาย และเงินปันผลส่วนใหญ่จะถูกแสดงเป็นหน่วยดอลล่าสหรัฐ หรือยูโร)

IDR (International DR):
เทียบเท่ากับ ADR แต่ออกในประเทศอื่นๆที่ไม่ใช่อเมริกา

ตัวอย่าง
ถ้าบริษัทน้ำมันในรัฐเซียแห่งหนึ่งต้องการนำหุ้นของบริษัทตัวเองเข้าไปซื้อขายใน NYSE ทีอเมริการในรูปแบบของ ADR
1) บริษัทนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์อเมริกาที่มีสาขาต่างประเทศที่รัฐเซียจะต้องไปซื้อหลักทรัพย์ของบริษัทน้ำมันดังกล่าวจริงๆก่อนที่ตลาดหลักทรัพย์ประเทศรัฐเซีย
2) หลังจากนั้นจึงทำการส่งมอบทรัพย์ดังกล่าวให้กับ Custodian Bank ที่ของอเมริการที่มีสาขาที่รัฐเซีย (ทำหน้าที่เป็น Depository Bank)
3) Depository Bank อเมริกาเดียวกันนี่เอง (เช่น the Bank of New York) ทำหน้าที่ออก ADR ในอเมริกาอีกทีนึงหลังจากที่ได้รับการยืนยันจาก Custodian ที่รัฐเซีย
4) Depository Bank ที่อเมริกาส่งมอบ ADR ให้กับบริษัทนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อซื้อขายที่ NYSE

หมายเหตุ:
ราคาของ ADR และหลักทรัพย์ที่อ้างอิงจริงๆนั้นจะถูกรักษาให้มีค่าใกล้เคียงกันมากที่สุดด้วยการ arbitrage ของบริษัทนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์นั่นเอง
การทำ DR นอกจากจะช่วยให้การระดมทุนของบริษัทเกิดขึ้นในวงกว้างขึ้นเป็นระดับโลก ยังเป็นการทำให้นักลงทุนมี diversification ของ portfolio มากขึ้นอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม DR ไม่ได้ทำให้ currency risk และ economic risk หายไปแต่อย่างใด
ความเป็นจริงแล้ว DR อาจจะซื้อขายกันแบบ OTC แทนการซื้อขายในตลาดก็ได้

from: http://www.investopedia.com/articles/03/091003.asp

Monday, December 29, 2008

Deadweight Loss of Chrismas


Investopedia says:
The term "deadweight loss" can be applied to any deficiency due to an inefficient allocation of resources. Lost production due to inaccurate forecasting for labor is an example of a deadweight loss.

เคยรู้กันมั้ยคับว่าของขวัญที่ไม่ตรงใจผู้รับตามมาด้วยต้นทุน...

ง่ายๆ ลองคิดถึงรอยยิ้มแห้งๆของคนที่ได้เนคไทลายดอกไม้สีบานเย็นแรงฤทธิ์สุดแสนแพงที่เราซื้อให้ดูซิ...
(เป็นผม ถึงให้ถูกแทบตายก็คงไม่มีทางซื้อให้แน่ๆอะ)
สิ่งที่ผมจะบอกก็คือ โดยปกติแล้วคนเรามักจะจ่ายค่า"ของขวัญ"มากกว่าค่าของ"ของขวัญ"ที่ผู้รับรู้สึกหรือประเมินจากสิ่งที่เราให้
เหตุการณ์นี้เองที่เค้าเรียกกันว่า "the deadweight loss of Christmas"

ตัวอย่างเช่น
คุณซื้อเสื้อราคา 800 บาทให้ผมเป็นของขวัญ ในขณะที่ถ้าเป็นตัวผมซื้อเองผมจะไม่มีทางจ่ายค่าเสื้อตัวนี้เกิน 200 บาทแน่ๆ

นั่นก็หมายความว่า เงินอีก 600 บาทที่เหลือนั้นไม่ได้ถูกนำไปใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
แน่นอนเหตุกาณ์แบบนี้เกิดขึ้นทุกๆปีในเทศกาลแลกเปลี่ยนของขวัญต่างๆ
ลองคิดเล่นๆดูซิคับว่าปีๆนึงเราเสียเงินโดยใช่เหตุไปกันเท่าไหร่?

From:
http://www.newyorker.com/archive/2006/12/25/061225ta_talk_surowiecki

Sunday, December 28, 2008

Credit Default Swap (CDS)


ซีดีเอส เป็น "ผลิตภัณฑ์" ทางการเงินใหม่ที่เป็นนวัตกรรมของระบบธนาคารแบบ วาณิชธนกิจในสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะ ซีดีเอส จะเป็นการตกลงกันระหว่าง 2 ฝ่าย เพื่อให้ฝ่ายหนึ่งรับประกันการเบี้ยวหนี้จากการปล่อยกู้สินเชื่อด้อยคุณภาพ ของอีกฝ่ายหนึ่ง แลกเปลี่ยนกับผลตอบแทนจากฝ่ายแรก ตัวอย่างเช่น สถาบันการเงิน ก. ปล่อยกู้สินเชื่อด้อยคุณภาพให้กับลูกค้า 10 ราย รายละ 1 ล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ย 10 เปอร์เซ็นต์ แต่ไม่อยากแบกรับความเสี่ยงเอง ก็ไปหาธนาคาร ข. เสนอผลตอบแทนให้กับธนาคาร 4 เปอร์เซ็นต์ แลกกับการที่ธนาคารยอมค้ำประกันหนี้ก้อนดังกล่าว โดยวางเงินไว้ตามกฎ 10 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าของหนี้สินทั้งหมด ทั้งนี้ ธนาคาร ข. จะออกตราสารหนี้ไว้ให้กับ สถาบัน ก. เพื่อการค้ำประกันดังกล่าว

ด้วย วิธีการนี้ ธนาคาร ข. สามารถทำเงินได้ 4 เปอร์เซ็นต์จากมูลค่าหนี้ทั้งหมด ในขณะที่สถาบันการเงิน ก. ก็มีหลักประกันว่าจะได้รับเงินคืนแน่ ถ้าหากมีการเบี้ยวหนี้เกิดขึ้น ที่สำคัญก็คือ สถาบันการเงิน ก. ยังสามารถนำตราสารหนี้ดังกล่าว ไปเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้ เพื่อนำเงินก้อนดังกล่าวมาปล่อยกู้ซับไพรม์รอบใหม่ได้อีก หาธนาคารค้ำประกันใหม่ได้อีก ในขณะเดียวกัน ธนาคาร ข. เองก็อาจนำเอาหนี้ก้อนเดียวกันนั้นไป "ขาย" ต่อให้กับธนาคารอื่น โดยแบ่งผลประโยชน์ให้อีกส่วนหนึ่ง

ในทางหนึ่ง นี่เป็นวิธีการกระจายความเสี่ยงจากการปล่อยกู้ แทนที่จะกระจุกตัวอยู่ที่เดียว ให้กระจายออกไปรับผิดชอบร่วมกัน แต่ในอีกทางหนึ่ง นี่เป็นการสร้างความร่ำรวยจากอากาศธาตุ และเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับหนี้สินอย่างสำคัญ ด้วยการทำให้หนี้ที่มีความเสี่ยงสูง เป็นหนี้ระดับเกรดบี กลายเป็นหนี้ที่มีการค้ำประกัน เป็นหนี้เกรดเอ ที่น่าจะเป็นหนี้ที่ปลอดภัยที่สุด น่าลงทุนที่สุด

วิธีการนี้เป็น วิธีการที่ เลห์แมน บราเธอร์ส ใช้ในการทำธุรกรรมมากที่สุดจนกลายเป็นวาณิชธนกิจที่ทำ ซีดีเอส ติดอันดับท็อปเท็นของโลก มูลค่าของสัญญาที่เลห์แมนฯ ค้ำประกันอยู่มีอยู่สูงถึงเกือบ 800,000 ล้านดอลลาร์!

ด้วยความสลับ ซับซ้อนของระบบ และการเทรดต่อกันเป็นทอดๆ ดังกล่าว สถาบันการเงิน และธนาคารหลายแห่งในยุโรป หรือกระทั่งในเอเชีย ต้องเรียกพนักงานมาทำงานในวันหยุดเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ระดมกำลังสมองกันประเมินมูลค่าของหนี้สินที่เกี่ยวเนื่องกับ เลห์แมนฯ ว่าถึงที่สุดแล้ว ตนจะเสียหายเท่าใดไปกับการล้มละลายของวาณิชธนกิจรายนี้

From:
มติชนสุดสัปดาห์ วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2551 ปีที่ 28 ฉบับที่ 1466 หน้า 102

Credit Crunch

  1. เริ่มจากธนาคารในสหรัฐอเมริกาปล่อยเงินกู้ให้อเมริกันชนนำไปซื้อบ้าน แล้วประชาชีเหล่านั้นก็ต้องเอาบ้านไปค้ำประกันพร้อมทั้งจ่ายดอกเบี้ยคืนให้ แก่ธนาคาร

  2. ธนาคารหัวใส เรื่องอะไรจะเก็บหลักทรัพย์กับหนี้นั้นไว้เปล่าๆ เปลืองพื้นที่ จึงจัดการตามรัฐบาลทักสิน โดยการแปลงหนี้ให้เป็นทุน (ฮ่า) เอาหนี้นั้นมารวมๆ กันแล้วจัดการซอยเป็น Securities (หลักทรัพย์) ให้เป็น Bond (พันธบัตร) เรียกว่า Residential Mortgage Back Securities (RMBS)จัดการแบ่งจัดลำดับความเสี่ยง โดยพวกบริษัทจัดอันดับ (S&P, whatever)

  3. ธนาคารพาณิชย์ นักลงทุน และวาณิชธนกิจ (Investment Bank, IB) ก็แห่กันมาซื้อพันธบัตร RMBS เพื่อหวังว่าจะได้รับดอกเบี้ย จากเจ้าของบ้านต่างๆ ที่กู้เงินไป ใครซื้อแบบความเสี่ยงต่ำก็ได้ดอกเบี้ยน้อยหน่อย ใครชอบแบบเสี่ยงสูงก็ดอกเบี้ยเยอะหน่อย เรียกได้ว่าเป็นการลงทุนตาม Risk Preference เป็นการจัดการความเสี่ยงอย่างหนึ่ง แต่ที่แน่ๆ ไอ้ธนาคารคนปล่อยกู้คนแรกได้จัดการเอาหนี้ออกไปจากระบบบัญชีตัวเองแล้ว ได้เงินจากการขายหนี้ เอาไปปล่อยกู้ต่อไปสบายใจเฉิบ เงินต่อเงิน ง่ายจริงๆ

  4. ทีนี้พวกที่ซื้อพันธบัตร RMBS เจ้าแรก ก็หัวใสอีกเช่นเคย เกิดโลภมากแล้วทำไมผมจะต้องถือหนี้เหล่านี้ไว้ในมือ เอาไปปล่อยต่อดีกว่า ว่าแล้วก็จัดการ Repackage จับนู่นผสมนี่ เกิดเป็น RMBS อีกอันหนึ่ง เอาไปขายต่อให้ ธนาคารกะ IB เจ้าอื่นต่อไป ปัญหาเริ่มเกิดตรงนี้ เนื่องจากการผสมปนเปทำให้ หนี้ที่มีความเสี่ยงสูงเข้าไปปนกับหนี้ที่มีความเสี่ยงต้ำ เกิดเป็น RMBS ใหม่ มีการจัดอันดับความเสี่ยงกันใหม่ จากเดิมหนี้เสี่ยงสูงอาจกลายเป็นมีความเสี่ยงน้อยลง

  5. ธนาคารกะ IB เจ้าต่อมาก็ซื้อไปซื้อมา repackage ขายต่อเป็นวัฐจักรไปเรื่อยๆ เอากำไรไป ทำให้ไม่รู้แล้วว่าพันธบัตรอันไหนเป็นบ้านหลังไหนกันแน่ แต่ตราบใดที่แต่ละเจ้ายังได้รับดอกเบี้ยจากผู้กู้ทุกอย่างก็ยังดูดี

  6. อ่าวแย่ละซิ ปัญหามาแล้วไอ้พวกคนที่กู้ไปสร้างบ้านเนี่ยมันเป็นพวก Sub prime คือจริงๆ แล้วไม่มีความสามารถในการกู้ งานการอาจไม่ค่อยดีเท่าไหร่ เงินเดือนไม่มั่นคง แต่ไอ้ธนาคารในอเมริกามันดันปล่อยกู้ให้ เนื่องจากการแข่งขันที่มีมากในตลาดการกู้ ที่นี่เมื่อเขาเหล่านั้นไม่มีเงินจ่ายดอกเบี้ย คนที่ซื้อพันธบัตรไปก็ซวยน่ะสิ ไม่มีรายได้จากดอกเบี้ย ก็เลยกลายเป็นหนี้เน่าไปโดยปริยาย

  7. เนื่องจากการผสมปนเปซื้อมาขายไป ทำให้ธนาคารและ IB ต่างๆ ไม่รู้ว่าไอ้พันธบัตรที่ตัวเองถืออยู่นั้นมีหนี้เน่าอยู่เท่าไหร่ เกิดการ write off debt (แปลไทยว่าไรดีอ่ะ ตัดหนี้ทิ้งเหรอ) ธนาคารนั้นก็เริ่มสงสัยว่าอีกธนาคารหนึ่งจะมีหนี้เสียเยอะรึเปล่าหว่า

  8. นอกจาก RMBS แล้วก็มี Commercial Mortgage Back Securities (CMBS) หลักทรัพย์เป็นตึกออฟฟิต ตึกพวกนี้ไม่มีปัญหา เนื่องจากการปล่อยกู้มีความรัดกุมกว่า RMBS มาก มีการขายเป็นพันธบัตรเหมือนกัน แต่พอเริ่มเกิดปัญหาใน RMBS ทำให้ตลาด CMBS ดับไปด้วยเช่นกัน เพราะคนเริ่มไม่แน่ใจว่าจะมีปัญหาแอบติดๆ มาเหมือนใน RMBS หรือเปล่า

  9. เนื่องจากธนาคารสงสัยกันไปมาว่าแต่ละธนาคารมี RMBS and CMBS อยู่ในมืเท่าไหร่กันแน่ และที่ถืออยู่นั้นมีหนี้เสียอยู่เท่าไหร่ จึงทำให้เกิดการระแวงในการปล่อยกู้กันระหว่างธนาคาร ทำให้ LIBOR (London Interbank Offered Rate) หรืออัตราที่ธนาคารปล่อยกู้ให้กันและกันเพื่อนำไปปล่อยกู้ต่อให้กับธุรกิจ อื่นๆ สูงขึ้น ทำให้ Liquidity หรือสภาพคล่องใน Debt Market ลดลง

  10. เนื่องจากการทำ CMBS มีน้อยลงไปมากๆ สภาพคล่องในการปล่อยกู้ตลาดอฟฟิตให้เช่าก็น้อยลงไปด้วย (ถ้าปล่อย CMBS ได้ง่ายธนาคารก็นำเงินที่ได้จากการขายไปปล่อยกู้ต่อได้อีก)

  11. ข้อ 9 กะข้อ 10 รวมกันก็เลยกลายเป็น Credit Crunch ด้วยประกาลฉะนี้ ผิดพลาดประการใดขอช่วยแจ้งเพื่อจะได้แห้ไขด้วยนะครับ
From: http://mastertaam.multiply.com/journal/item/21/21