Sunday, December 28, 2008

Credit Crunch

  1. เริ่มจากธนาคารในสหรัฐอเมริกาปล่อยเงินกู้ให้อเมริกันชนนำไปซื้อบ้าน แล้วประชาชีเหล่านั้นก็ต้องเอาบ้านไปค้ำประกันพร้อมทั้งจ่ายดอกเบี้ยคืนให้ แก่ธนาคาร

  2. ธนาคารหัวใส เรื่องอะไรจะเก็บหลักทรัพย์กับหนี้นั้นไว้เปล่าๆ เปลืองพื้นที่ จึงจัดการตามรัฐบาลทักสิน โดยการแปลงหนี้ให้เป็นทุน (ฮ่า) เอาหนี้นั้นมารวมๆ กันแล้วจัดการซอยเป็น Securities (หลักทรัพย์) ให้เป็น Bond (พันธบัตร) เรียกว่า Residential Mortgage Back Securities (RMBS)จัดการแบ่งจัดลำดับความเสี่ยง โดยพวกบริษัทจัดอันดับ (S&P, whatever)

  3. ธนาคารพาณิชย์ นักลงทุน และวาณิชธนกิจ (Investment Bank, IB) ก็แห่กันมาซื้อพันธบัตร RMBS เพื่อหวังว่าจะได้รับดอกเบี้ย จากเจ้าของบ้านต่างๆ ที่กู้เงินไป ใครซื้อแบบความเสี่ยงต่ำก็ได้ดอกเบี้ยน้อยหน่อย ใครชอบแบบเสี่ยงสูงก็ดอกเบี้ยเยอะหน่อย เรียกได้ว่าเป็นการลงทุนตาม Risk Preference เป็นการจัดการความเสี่ยงอย่างหนึ่ง แต่ที่แน่ๆ ไอ้ธนาคารคนปล่อยกู้คนแรกได้จัดการเอาหนี้ออกไปจากระบบบัญชีตัวเองแล้ว ได้เงินจากการขายหนี้ เอาไปปล่อยกู้ต่อไปสบายใจเฉิบ เงินต่อเงิน ง่ายจริงๆ

  4. ทีนี้พวกที่ซื้อพันธบัตร RMBS เจ้าแรก ก็หัวใสอีกเช่นเคย เกิดโลภมากแล้วทำไมผมจะต้องถือหนี้เหล่านี้ไว้ในมือ เอาไปปล่อยต่อดีกว่า ว่าแล้วก็จัดการ Repackage จับนู่นผสมนี่ เกิดเป็น RMBS อีกอันหนึ่ง เอาไปขายต่อให้ ธนาคารกะ IB เจ้าอื่นต่อไป ปัญหาเริ่มเกิดตรงนี้ เนื่องจากการผสมปนเปทำให้ หนี้ที่มีความเสี่ยงสูงเข้าไปปนกับหนี้ที่มีความเสี่ยงต้ำ เกิดเป็น RMBS ใหม่ มีการจัดอันดับความเสี่ยงกันใหม่ จากเดิมหนี้เสี่ยงสูงอาจกลายเป็นมีความเสี่ยงน้อยลง

  5. ธนาคารกะ IB เจ้าต่อมาก็ซื้อไปซื้อมา repackage ขายต่อเป็นวัฐจักรไปเรื่อยๆ เอากำไรไป ทำให้ไม่รู้แล้วว่าพันธบัตรอันไหนเป็นบ้านหลังไหนกันแน่ แต่ตราบใดที่แต่ละเจ้ายังได้รับดอกเบี้ยจากผู้กู้ทุกอย่างก็ยังดูดี

  6. อ่าวแย่ละซิ ปัญหามาแล้วไอ้พวกคนที่กู้ไปสร้างบ้านเนี่ยมันเป็นพวก Sub prime คือจริงๆ แล้วไม่มีความสามารถในการกู้ งานการอาจไม่ค่อยดีเท่าไหร่ เงินเดือนไม่มั่นคง แต่ไอ้ธนาคารในอเมริกามันดันปล่อยกู้ให้ เนื่องจากการแข่งขันที่มีมากในตลาดการกู้ ที่นี่เมื่อเขาเหล่านั้นไม่มีเงินจ่ายดอกเบี้ย คนที่ซื้อพันธบัตรไปก็ซวยน่ะสิ ไม่มีรายได้จากดอกเบี้ย ก็เลยกลายเป็นหนี้เน่าไปโดยปริยาย

  7. เนื่องจากการผสมปนเปซื้อมาขายไป ทำให้ธนาคารและ IB ต่างๆ ไม่รู้ว่าไอ้พันธบัตรที่ตัวเองถืออยู่นั้นมีหนี้เน่าอยู่เท่าไหร่ เกิดการ write off debt (แปลไทยว่าไรดีอ่ะ ตัดหนี้ทิ้งเหรอ) ธนาคารนั้นก็เริ่มสงสัยว่าอีกธนาคารหนึ่งจะมีหนี้เสียเยอะรึเปล่าหว่า

  8. นอกจาก RMBS แล้วก็มี Commercial Mortgage Back Securities (CMBS) หลักทรัพย์เป็นตึกออฟฟิต ตึกพวกนี้ไม่มีปัญหา เนื่องจากการปล่อยกู้มีความรัดกุมกว่า RMBS มาก มีการขายเป็นพันธบัตรเหมือนกัน แต่พอเริ่มเกิดปัญหาใน RMBS ทำให้ตลาด CMBS ดับไปด้วยเช่นกัน เพราะคนเริ่มไม่แน่ใจว่าจะมีปัญหาแอบติดๆ มาเหมือนใน RMBS หรือเปล่า

  9. เนื่องจากธนาคารสงสัยกันไปมาว่าแต่ละธนาคารมี RMBS and CMBS อยู่ในมืเท่าไหร่กันแน่ และที่ถืออยู่นั้นมีหนี้เสียอยู่เท่าไหร่ จึงทำให้เกิดการระแวงในการปล่อยกู้กันระหว่างธนาคาร ทำให้ LIBOR (London Interbank Offered Rate) หรืออัตราที่ธนาคารปล่อยกู้ให้กันและกันเพื่อนำไปปล่อยกู้ต่อให้กับธุรกิจ อื่นๆ สูงขึ้น ทำให้ Liquidity หรือสภาพคล่องใน Debt Market ลดลง

  10. เนื่องจากการทำ CMBS มีน้อยลงไปมากๆ สภาพคล่องในการปล่อยกู้ตลาดอฟฟิตให้เช่าก็น้อยลงไปด้วย (ถ้าปล่อย CMBS ได้ง่ายธนาคารก็นำเงินที่ได้จากการขายไปปล่อยกู้ต่อได้อีก)

  11. ข้อ 9 กะข้อ 10 รวมกันก็เลยกลายเป็น Credit Crunch ด้วยประกาลฉะนี้ ผิดพลาดประการใดขอช่วยแจ้งเพื่อจะได้แห้ไขด้วยนะครับ
From: http://mastertaam.multiply.com/journal/item/21/21

No comments:

Post a Comment