Monday, December 29, 2008
Deadweight Loss of Chrismas
Investopedia says:
The term "deadweight loss" can be applied to any deficiency due to an inefficient allocation of resources. Lost production due to inaccurate forecasting for labor is an example of a deadweight loss.
เคยรู้กันมั้ยคับว่าของขวัญที่ไม่ตรงใจผู้รับตามมาด้วยต้นทุน...
ง่ายๆ ลองคิดถึงรอยยิ้มแห้งๆของคนที่ได้เนคไทลายดอกไม้สีบานเย็นแรงฤทธิ์สุดแสนแพงที่เราซื้อให้ดูซิ...
(เป็นผม ถึงให้ถูกแทบตายก็คงไม่มีทางซื้อให้แน่ๆอะ)
สิ่งที่ผมจะบอกก็คือ โดยปกติแล้วคนเรามักจะจ่ายค่า"ของขวัญ"มากกว่าค่าของ"ของขวัญ"ที่ผู้รับรู้สึกหรือประเมินจากสิ่งที่เราให้
เหตุการณ์นี้เองที่เค้าเรียกกันว่า "the deadweight loss of Christmas"
ตัวอย่างเช่น
คุณซื้อเสื้อราคา 800 บาทให้ผมเป็นของขวัญ ในขณะที่ถ้าเป็นตัวผมซื้อเองผมจะไม่มีทางจ่ายค่าเสื้อตัวนี้เกิน 200 บาทแน่ๆ
นั่นก็หมายความว่า เงินอีก 600 บาทที่เหลือนั้นไม่ได้ถูกนำไปใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
แน่นอนเหตุกาณ์แบบนี้เกิดขึ้นทุกๆปีในเทศกาลแลกเปลี่ยนของขวัญต่างๆ
ลองคิดเล่นๆดูซิคับว่าปีๆนึงเราเสียเงินโดยใช่เหตุไปกันเท่าไหร่?
From: http://www.newyorker.com/archive/2006/12/25/061225ta_talk_surowiecki
Sunday, December 28, 2008
Credit Default Swap (CDS)
ซีดีเอส เป็น "ผลิตภัณฑ์" ทางการเงินใหม่ที่เป็นนวัตกรรมของระบบธนาคารแบบ วาณิชธนกิจในสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะ ซีดีเอส จะเป็นการตกลงกันระหว่าง 2 ฝ่าย เพื่อให้ฝ่ายหนึ่งรับประกันการเบี้ยวหนี้จากการปล่อยกู้สินเชื่อด้อยคุณภาพ ของอีกฝ่ายหนึ่ง แลกเปลี่ยนกับผลตอบแทนจากฝ่ายแรก ตัวอย่างเช่น สถาบันการเงิน ก. ปล่อยกู้สินเชื่อด้อยคุณภาพให้กับลูกค้า 10 ราย รายละ 1 ล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ย 10 เปอร์เซ็นต์ แต่ไม่อยากแบกรับความเสี่ยงเอง ก็ไปหาธนาคาร ข. เสนอผลตอบแทนให้กับธนาคาร 4 เปอร์เซ็นต์ แลกกับการที่ธนาคารยอมค้ำประกันหนี้ก้อนดังกล่าว โดยวางเงินไว้ตามกฎ 10 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าของหนี้สินทั้งหมด ทั้งนี้ ธนาคาร ข. จะออกตราสารหนี้ไว้ให้กับ สถาบัน ก. เพื่อการค้ำประกันดังกล่าว
ด้วย วิธีการนี้ ธนาคาร ข. สามารถทำเงินได้ 4 เปอร์เซ็นต์จากมูลค่าหนี้ทั้งหมด ในขณะที่สถาบันการเงิน ก. ก็มีหลักประกันว่าจะได้รับเงินคืนแน่ ถ้าหากมีการเบี้ยวหนี้เกิดขึ้น ที่สำคัญก็คือ สถาบันการเงิน ก. ยังสามารถนำตราสารหนี้ดังกล่าว ไปเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้ เพื่อนำเงินก้อนดังกล่าวมาปล่อยกู้ซับไพรม์รอบใหม่ได้อีก หาธนาคารค้ำประกันใหม่ได้อีก ในขณะเดียวกัน ธนาคาร ข. เองก็อาจนำเอาหนี้ก้อนเดียวกันนั้นไป "ขาย" ต่อให้กับธนาคารอื่น โดยแบ่งผลประโยชน์ให้อีกส่วนหนึ่ง
ในทางหนึ่ง นี่เป็นวิธีการกระจายความเสี่ยงจากการปล่อยกู้ แทนที่จะกระจุกตัวอยู่ที่เดียว ให้กระจายออกไปรับผิดชอบร่วมกัน แต่ในอีกทางหนึ่ง นี่เป็นการสร้างความร่ำรวยจากอากาศธาตุ และเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับหนี้สินอย่างสำคัญ ด้วยการทำให้หนี้ที่มีความเสี่ยงสูง เป็นหนี้ระดับเกรดบี กลายเป็นหนี้ที่มีการค้ำประกัน เป็นหนี้เกรดเอ ที่น่าจะเป็นหนี้ที่ปลอดภัยที่สุด น่าลงทุนที่สุด
วิธีการนี้เป็น วิธีการที่ เลห์แมน บราเธอร์ส ใช้ในการทำธุรกรรมมากที่สุดจนกลายเป็นวาณิชธนกิจที่ทำ ซีดีเอส ติดอันดับท็อปเท็นของโลก มูลค่าของสัญญาที่เลห์แมนฯ ค้ำประกันอยู่มีอยู่สูงถึงเกือบ 800,000 ล้านดอลลาร์!
ด้วยความสลับ ซับซ้อนของระบบ และการเทรดต่อกันเป็นทอดๆ ดังกล่าว สถาบันการเงิน และธนาคารหลายแห่งในยุโรป หรือกระทั่งในเอเชีย ต้องเรียกพนักงานมาทำงานในวันหยุดเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ระดมกำลังสมองกันประเมินมูลค่าของหนี้สินที่เกี่ยวเนื่องกับ เลห์แมนฯ ว่าถึงที่สุดแล้ว ตนจะเสียหายเท่าใดไปกับการล้มละลายของวาณิชธนกิจรายนี้
From: มติชนสุดสัปดาห์ วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2551 ปีที่ 28 ฉบับที่ 1466 หน้า 102
Credit Crunch
- เริ่มจากธนาคารในสหรัฐอเมริกาปล่อยเงินกู้ให้อเมริกันชนนำไปซื้อบ้าน แล้วประชาชีเหล่านั้นก็ต้องเอาบ้านไปค้ำประกันพร้อมทั้งจ่ายดอกเบี้ยคืนให้ แก่ธนาคาร
- ธนาคารหัวใส เรื่องอะไรจะเก็บหลักทรัพย์กับหนี้นั้นไว้เปล่าๆ เปลืองพื้นที่ จึงจัดการตามรัฐบาลทักสิน โดยการแปลงหนี้ให้เป็นทุน (ฮ่า) เอาหนี้นั้นมารวมๆ กันแล้วจัดการซอยเป็น Securities (หลักทรัพย์) ให้เป็น Bond (พันธบัตร) เรียกว่า Residential Mortgage Back Securities (RMBS)จัดการแบ่งจัดลำดับความเสี่ยง โดยพวกบริษัทจัดอันดับ (S&P, whatever)
- ธนาคารพาณิชย์ นักลงทุน และวาณิชธนกิจ (Investment Bank, IB) ก็แห่กันมาซื้อพันธบัตร RMBS เพื่อหวังว่าจะได้รับดอกเบี้ย จากเจ้าของบ้านต่างๆ ที่กู้เงินไป ใครซื้อแบบความเสี่ยงต่ำก็ได้ดอกเบี้ยน้อยหน่อย ใครชอบแบบเสี่ยงสูงก็ดอกเบี้ยเยอะหน่อย เรียกได้ว่าเป็นการลงทุนตาม Risk Preference เป็นการจัดการความเสี่ยงอย่างหนึ่ง แต่ที่แน่ๆ ไอ้ธนาคารคนปล่อยกู้คนแรกได้จัดการเอาหนี้ออกไปจากระบบบัญชีตัวเองแล้ว ได้เงินจากการขายหนี้ เอาไปปล่อยกู้ต่อไปสบายใจเฉิบ เงินต่อเงิน ง่ายจริงๆ
- ทีนี้พวกที่ซื้อพันธบัตร RMBS เจ้าแรก ก็หัวใสอีกเช่นเคย เกิดโลภมากแล้วทำไมผมจะต้องถือหนี้เหล่านี้ไว้ในมือ เอาไปปล่อยต่อดีกว่า ว่าแล้วก็จัดการ Repackage จับนู่นผสมนี่ เกิดเป็น RMBS อีกอันหนึ่ง เอาไปขายต่อให้ ธนาคารกะ IB เจ้าอื่นต่อไป ปัญหาเริ่มเกิดตรงนี้ เนื่องจากการผสมปนเปทำให้ หนี้ที่มีความเสี่ยงสูงเข้าไปปนกับหนี้ที่มีความเสี่ยงต้ำ เกิดเป็น RMBS ใหม่ มีการจัดอันดับความเสี่ยงกันใหม่ จากเดิมหนี้เสี่ยงสูงอาจกลายเป็นมีความเสี่ยงน้อยลง
- ธนาคารกะ IB เจ้าต่อมาก็ซื้อไปซื้อมา repackage ขายต่อเป็นวัฐจักรไปเรื่อยๆ เอากำไรไป ทำให้ไม่รู้แล้วว่าพันธบัตรอันไหนเป็นบ้านหลังไหนกันแน่ แต่ตราบใดที่แต่ละเจ้ายังได้รับดอกเบี้ยจากผู้กู้ทุกอย่างก็ยังดูดี
- อ่าวแย่ละซิ ปัญหามาแล้วไอ้พวกคนที่กู้ไปสร้างบ้านเนี่ยมันเป็นพวก Sub prime คือจริงๆ แล้วไม่มีความสามารถในการกู้ งานการอาจไม่ค่อยดีเท่าไหร่ เงินเดือนไม่มั่นคง แต่ไอ้ธนาคารในอเมริกามันดันปล่อยกู้ให้ เนื่องจากการแข่งขันที่มีมากในตลาดการกู้ ที่นี่เมื่อเขาเหล่านั้นไม่มีเงินจ่ายดอกเบี้ย คนที่ซื้อพันธบัตรไปก็ซวยน่ะสิ ไม่มีรายได้จากดอกเบี้ย ก็เลยกลายเป็นหนี้เน่าไปโดยปริยาย
- เนื่องจากการผสมปนเปซื้อมาขายไป ทำให้ธนาคารและ IB ต่างๆ ไม่รู้ว่าไอ้พันธบัตรที่ตัวเองถืออยู่นั้นมีหนี้เน่าอยู่เท่าไหร่ เกิดการ write off debt (แปลไทยว่าไรดีอ่ะ ตัดหนี้ทิ้งเหรอ) ธนาคารนั้นก็เริ่มสงสัยว่าอีกธนาคารหนึ่งจะมีหนี้เสียเยอะรึเปล่าหว่า
- นอกจาก RMBS แล้วก็มี Commercial Mortgage Back Securities (CMBS) หลักทรัพย์เป็นตึกออฟฟิต ตึกพวกนี้ไม่มีปัญหา เนื่องจากการปล่อยกู้มีความรัดกุมกว่า RMBS มาก มีการขายเป็นพันธบัตรเหมือนกัน แต่พอเริ่มเกิดปัญหาใน RMBS ทำให้ตลาด CMBS ดับไปด้วยเช่นกัน เพราะคนเริ่มไม่แน่ใจว่าจะมีปัญหาแอบติดๆ มาเหมือนใน RMBS หรือเปล่า
- เนื่องจากธนาคารสงสัยกันไปมาว่าแต่ละธนาคารมี RMBS and CMBS อยู่ในมืเท่าไหร่กันแน่ และที่ถืออยู่นั้นมีหนี้เสียอยู่เท่าไหร่ จึงทำให้เกิดการระแวงในการปล่อยกู้กันระหว่างธนาคาร ทำให้ LIBOR (London Interbank Offered Rate) หรืออัตราที่ธนาคารปล่อยกู้ให้กันและกันเพื่อนำไปปล่อยกู้ต่อให้กับธุรกิจ อื่นๆ สูงขึ้น ทำให้ Liquidity หรือสภาพคล่องใน Debt Market ลดลง
- เนื่องจากการทำ CMBS มีน้อยลงไปมากๆ สภาพคล่องในการปล่อยกู้ตลาดอฟฟิตให้เช่าก็น้อยลงไปด้วย (ถ้าปล่อย CMBS ได้ง่ายธนาคารก็นำเงินที่ได้จากการขายไปปล่อยกู้ต่อได้อีก)
- ข้อ 9 กะข้อ 10 รวมกันก็เลยกลายเป็น Credit Crunch ด้วยประกาลฉะนี้ ผิดพลาดประการใดขอช่วยแจ้งเพื่อจะได้แห้ไขด้วยนะครับ
Subscribe to:
Posts (Atom)