Wednesday, January 21, 2009
ทราย
คืนนี้รู้สึกเหงาๆ และนึกถึงเรื่องที่ไม่ค่อยจะดีอะไรบางเรื่อง ทำให้เศร้าๆไป...
บางเรื่องเรากลับจำไม่ลืม ปล่อยไม่ลง วางไม่เป็น ยังคงยึดติดกับมัน กับภาพเก่าๆ เรื่องในอดีต ที่ไม่อาจจะหวนกลับมาได้อีก...
และก็แปลก ที่บางเรื่องเรากลับไม่เอามันมาเป็นสาระสำคัญอะไรของชีวิตเลยด้วยซ้ำ
ความรัก ความหลง ความสุข ความผิดหวัง ความเจ็บปวด ความทุกข์ และความโง่
จะมีคนที่โชคดีซะกี่คนที่รู้ว่ามันต่างกันยังไง?
ผมคงไม่ใช่คนเดียวที่แยกไม่ออกใช่ป่าวคับ...
และคงไม่แปลกที่คนๆนึงอาจจะรู้สึกอ่อนแอได้บ้างเป็นบางครั้ง
ผมได้แต่หวังว่าพรุ่งนี้จะมีแรงขึ้นมายืนขึ้น และสู้ต่ออีกครั้ง
เพียงแต่ผมต้องตอบคำถามให้ได้ก่อนว่า อันที่จริงแล้ว
"ผมสู้เพื่ออะไรอยู่?" ... "เพื่อใคร?"...
เพื่อนผมสอนผมไว้ว่า:
ความรักก็เหมือนทราย ...
หากเรากำแน่นไป ทรายก็จะหลุดออกมาตามรอยแยกของมือได้
แต่ถ้าเรากำหลวมเกินไป มันก็จะร่วงออกจากมืออีก
เราต้องเรียนรู้ที่จะกำมันให้พอดีๆ ไม่หลวมเกินไป ไม่แน่นเกินไป หากแต่มีช่องว่างให้มันบ้าง
เท่านี้ทรายก็จะอยู่ในมือเราตลอดไป
ขอบคุนนะเวช... ขอบคุนที่คอยให้มุมมองอะไรดีๆแบบนี้กับบอน
แด่เพื่อนผมคนนึง
Monday, January 12, 2009
Depository Reciept (DR)
DR เป็นหลักทรัพย์ชนิดเปลี่ยนมือได้ชนิดหนึ่งที่ซื้อขายกันในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศหนึ่งๆ แต่เป็นตัวแทนหลักทรัพย์ (มักจะเป็นตราสารทุน) ที่ออกโดยบริษัทมหาชนต่างประเทศอีกทีหนึ่ง โดยนักลงทุนดังกล่าวจะได้สิทธิในการถือหุ้นต่างๆ รวมถึง สิทธิในการออกเสียง และสิทธิในเงินปันผลเหมือนนักลงทุนในต่างประเทศที่ออกหลักทรัพย์ดังกล่าวทุกประการ
DR จึงเหมือนกับใบสำคัญใบนึงที่เปิดโอกาสให้นักลงทุนมีสิทธิถือครองตราสารทุนของประเทศอื่นๆนั่นเอง
ADR (American DR):
เป็น DR ที่ออกภายในประเทศอเมริกา และมีการซื้อขายกันในตลาดหลักทรัพย์ที่อเมริกา เช่น NYSE และ AMEX โดยเปิดโอกาสให้นักลงทุนชาวอเมริกันในการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศทั่วโลก โดยหลักทรัพย์จริงๆในต่างประเทศที่ DR อ้างถึงจะถูกถือครองด้วยสถาบันทางการเงินของประเทศอเมริกาที่มีสาขาอยู่ ณ ประเทศนั้นๆ
(ทั้งนี้ ส่วนต่างราคาเมื่อขาย และเงินปันผลจะถูกแสดงเป็นหน่วยดอลล่าสหรัฐ)
GDR (Global DR):
มีลักษณะคล้ายกับ ADR แต่ GDR จะออกร่วมกันหลายๆประเทศ เพื่ออ้างอิงถึงหลักทรัพย์ในต่างประเทศใดๆประเทศหนึ่ง ซึ่งมักจะถูกซื้อขายกันในตลาดหลักทรัพย์ที่ยุโรป เช่น London Stock Exchange
(ทั้งนี้ ส่วนต่างราคาเมื่อขาย และเงินปันผลส่วนใหญ่จะถูกแสดงเป็นหน่วยดอลล่าสหรัฐ หรือยูโร)
IDR (International DR):
เทียบเท่ากับ ADR แต่ออกในประเทศอื่นๆที่ไม่ใช่อเมริกา
ตัวอย่าง
ถ้าบริษัทน้ำมันในรัฐเซียแห่งหนึ่งต้องการนำหุ้นของบริษัทตัวเองเข้าไปซื้อขายใน NYSE ทีอเมริการในรูปแบบของ ADR
1) บริษัทนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์อเมริกาที่มีสาขาต่างประเทศที่รัฐเซียจะต้องไปซื้อหลักทรัพย์ของบริษัทน้ำมันดังกล่าวจริงๆก่อนที่ตลาดหลักทรัพย์ประเทศรัฐเซีย
2) หลังจากนั้นจึงทำการส่งมอบทรัพย์ดังกล่าวให้กับ Custodian Bank ที่ของอเมริการที่มีสาขาที่รัฐเซีย (ทำหน้าที่เป็น Depository Bank)
3) Depository Bank อเมริกาเดียวกันนี่เอง (เช่น the Bank of New York) ทำหน้าที่ออก ADR ในอเมริกาอีกทีนึงหลังจากที่ได้รับการยืนยันจาก Custodian ที่รัฐเซีย
4) Depository Bank ที่อเมริกาส่งมอบ ADR ให้กับบริษัทนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อซื้อขายที่ NYSE
หมายเหตุ:
ราคาของ ADR และหลักทรัพย์ที่อ้างอิงจริงๆนั้นจะถูกรักษาให้มีค่าใกล้เคียงกันมากที่สุดด้วยการ arbitrage ของบริษัทนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์นั่นเอง
การทำ DR นอกจากจะช่วยให้การระดมทุนของบริษัทเกิดขึ้นในวงกว้างขึ้นเป็นระดับโลก ยังเป็นการทำให้นักลงทุนมี diversification ของ portfolio มากขึ้นอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม DR ไม่ได้ทำให้ currency risk และ economic risk หายไปแต่อย่างใด
ความเป็นจริงแล้ว DR อาจจะซื้อขายกันแบบ OTC แทนการซื้อขายในตลาดก็ได้
from: http://www.investopedia.com/articles/03/091003.asp
Subscribe to:
Posts (Atom)