Thursday, March 12, 2009
ลดทุน/ลด Par, แตก Par, เพิ่มทุน
A. จุดประสงค์การลดทุน(ไม่ลดจำนวนหุ้น)ทำเพื่อล้างหรือลดขาดทุนสะสมจะกระทบ รายการบัญชีในส่วนผู้ถือหุ้น (Equity) ในงบดุล เป็นการปรับตัวเลขบัญชีให้ตรงกับความเป็นจริง (ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับงบกำไรขาดทุน งบกระแสเงินสด) บัญชีที่เกี่ยวข้องมีดังนี้
ทุนจดทะเบียน - หุ้นสามัญ
ทุนที่ออกและชำระแล้ว - หุ้นสามัญ
ส่วนเกินทุน (ขายหุ้นสูงกว่าราคาพาร์)
ส่วนต่ำกว่ามูลค่าหุ้น (ขายหุ้นต่ำกว่าราคาพาร์)
กำไรสะสม - ยังไม่ได้จัดสรร
รวมส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทใหญ่
B. ตัวอย่าง ในปี 2546 บริษัท xyz ได้จดทะเบียนเงินทุน 10,000.00 บาท โดยออกหุ้น 1,000 หุ้นๆละ 10.00 บาท ขายหุ้นหมดได้รับเงินมาเรียบร้อย ระหว่างดำเนินงานของปีมีกำไร 1,000.00 บาท สิ้นปีงบดุลย์แสดง
(๑) เงินทุน 10,000.00 บาท
(๒) กำไรสะสม 1,000.00 บาท
(๓) สัดส่วนผู้ถือหุ้นเพิ่มเป็น 11,000.00 บาท หรือ มูลค่าทางบัญชี 11.00 บาทต่อหุ้น
B.1 ในปี 2547 กิจการขาดทุน 2,000.00 บาท สิ้นปีงบดุลย์แสดง
(๔)เงินทุน 10,000.00 บาท
(๕) กำไรสะสมปีที่แล้วกลับมาเป็น ขาดทุนสะสม -1,000.00 บาท
(๖) สัดส่วนผู้ถือหุ้นเพิ่มเป็น 9,000.00 บาทลดลง หรือ มูลค่าทางบัญชี 9.00 บาทต่อหุ้น นั้นหมายถึงว่าเงินที่ลงไป 10.00 บาท เหลือ 9.00 บาท
B.2 ในปีต่อๆมา กิจการขาดทุนเพิ่มอีก 7,000.00 บาท งบดุลย์แสดง
(๗)เงินทุน 10,000.00 บาท
(๘) ขาดทุนสะสม -8,000.00 บาท เพิ่มขึ้น
(๙) สัดส่วนผู้ถือหุ้นเพิ่มเป็น 2,000.00 บาทลดลง หรือ มูลค่าทางบัญชี 2.00 บาทต่อหุ้น นั้นหมายถึงว่าเงินที่ลงไป 10.00 บาท เหลือ 2.00 บาท
B.3 บรัษัทต้องการล้างหรือลดขาดทุนสะสมเพือสะส้างปรับบัญชีให้ตรงความเป็นจริง ในเมื่อทุนที่ลงไป 10.00 บาทหายไปแทบหมดเหลือเพียง 2.00 บาท บริษัทขอลดทุนจดทะเบียนเป็น 2,000 บาท พาร์ 2.00 บาทโดยไม่ลดจำนวนหุ้น 1,000 หุ้น งบดุลย์แสดง
(๑๐) เงินทุน 2,000.00 บาท
(๑๑) ส่วนเกินขายหุ้นสูงกว่าพาร์ 8,00.00 บาท
(๑๒) ขาดทุนสะสม -8,000.00 บาท
(๑๓) สัดส่วนผู้ถือหุ้น 2,000.00 บาทเท่ากับทุนจดทะเบียน หรือ มูลค่าทางบัญชี 2.00 บาทต่อหุ้น เป็นการเริ่มต้นชีวิตใหม่
(๑๔) บริษัทสามารถขออนุมัติจาก กลต หรือ ตลท แล้วแต่กรณี นำ ข้อ (๑๑) มาล้างขาดทุนสะสมในข้อ (๑๒) หมดไปได้จะทำให้บริษัทสามารถจ่ายปันผลได้
C. บริษัทสามารถขอแตกพาร์จาก 2.00 บาท เป็น 1.00 บาท โดยขอเปลี่ยนทุนจดทะเบียนส่วนราคาพาร์และจำนวนหุ้นเพิ่มเป็น 2,000 หุ้น จำนวนเงินไม่เปลียนแปลง 2,000 บาทที่เหลืออยู่
D. หลังจากปรับตัวเลขตรงความเป็นจริง บริษัทสามารถหาผู้มาร่วมทุน บริษัทขอจดทะเบียนเพิ่มทุนเป็น 10,000 บาท ราคาพาร์ 1.00 บาท จำนวนหุ้น 10,000 หุ้น หุ้นที่เพิ่มขึ้น 8,000 หุ้น (จาก ข้อ C) นำออกขายที่ราคาเท่าไร(ส่วนใหญ่ไม่ต่ำกว่าราคาพาร์)ก็แล้วแต่ผู้บริหาร เงินที่ได้มาก็จะเพิ่มกระแสเงินสด
E. ลดทุน แตกพาร์ เพิ่มทุน บริษัทจะเลือกวิธีหนึ่งวิธีใด หรือสองใด หรือทั้งสามวิธีพร้อมๆกัน เช่น nwr ได้ทำมาแล้วเมื่อเร็วๆนี้ที่ผ่านมา
F. ลดหรือล้างขาดทุนสะสมได้ดังนี้ (๑) ลดทุนจดทะเบียน (๒) เพิ่มทุนขายหุ้นใหม่เกินราคาพาร์ สามารถขออนุมัติเอาส่วนเกินมูลค่าราคาพาร์มาลดหรือล้างขาดทุนสะสม แต่ว่าถ้ามี "ส่วนต่ำกว่ามูลค่าหุ้น (ขายหุ้นต่ำกว่าราคาพาร์ในอดีต)" ต้องนำส่วนเกินไปล้างให้หมดก่อนส่วนเหลือนำมาล้างขาดทุนสะสม (๓) กำไรจากผลประกอบการ (๔) กู้เงินมามันก็เป็นเงินคนอื่นไม่ใช่เงินของบริษัทจะนำไปลดหรือล้างขาดทุน สะสมไม่ได้ ย้ำ ไม่ได้
แตกพาร์ มักจะเป็นกระบวนการตรงกันข้ามกับ ลดพาร์ครับ
ลดพาร์เพราะกิจการขาดทุนต้องลดค่าพาร์ให้เหมาะสมค่าค่าทางบัญชี ไม่งั้นไม่มีใครเข้าร่วมหุ้นเพิ่มด้วย
ส่วนแตกพาร์เพราะราคาหุ้นทางบัญชี เพิ่มสูงมากจนไม่มีใครอยากซื้อขาย จึงแตกพาร์ หรือแบ่งหุ้นออกเป็น หลายๆส่วนเท่าๆกัน เช่น 10 ส่วน ก็ทำให้ราคาหุ้นที่เคยพุ่งสูงสัก 300 บาท ลดลงมาเป็นแค่ 30 บาท เมื่อมองเทียบกับหุ้นตัวอื่นๆ ก็ดูไม่แพง น่าซื้อเหมือนเดิม แต่ถ้าหากมองค่า p/e แล้ว ก็ลดลงตามส่วนที่แบ่งพาร์ออกไปเช่นกันครับ (ที่จริงก็เป็นการแบ่งหุ้น หรือเพิ่มจำนวนหุ้น แต่เวลาเรียก ดันไปผูกกับค่าหุ้นแรกเริ่มเข้าตลาดหลักทรัพย์ คือ ค่าพาร์ ที่นิยม 10บาท/ หุ้น พอแตกหุ้นเป็น หลายๆส่วน ค่าพาร์ก็ลดตามจำนวนส่วนที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง และนั่นก็มีผลต่อค่าทางบัญชีไปด้วย เพราะจำนวนหุ้นที่นำมาหารค่าทุน มันเพิ่มขึ้นด้วย ส่วนราคาหุ้นในตลาดก็ขึ้นอยู่กับ ความพอใจของของผู้ซื้อขายกันครับ แต่ทางปฏิบัติเมื่อมีการแตกพาร์ ก็จะมีการแจ้งจากบริษัทไปยังผู้ถือหุ้นว่ามีการแตกพาร์แล้วเท่าใด ทำให้ราคาหุ้นเดิมลดลงและจำนวนหุ้นที่แต่ละคนถือก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน ราคาซื้อขายก็เลยลดลงไปตามส่วนครับ)
ทำไมราคาหุ้นทางบัญชีเพิ่มขึ้น?
เพราะบริษัทมีกำไรครับ เลยทำให้มูลค่าสินทรัพย์หรือทุนเพิ่มขึ้น อีกนัยหนึ่งก็คือไม่เอากำไรไปจ่ายปันผลให้หมด บางส่วน(ส่วนใหญ่)ก็นำกลับมาเก็บไว้เป็นทุนครับ เลยทำให้มูลค่าหุ้นทางบัญชีเพิ่มขึ้นครับ
from: http://topicstock.pantip.com/sinthorn/topicstock/I3884417/I3884417.html
Wednesday, January 21, 2009
ทราย
คืนนี้รู้สึกเหงาๆ และนึกถึงเรื่องที่ไม่ค่อยจะดีอะไรบางเรื่อง ทำให้เศร้าๆไป...
บางเรื่องเรากลับจำไม่ลืม ปล่อยไม่ลง วางไม่เป็น ยังคงยึดติดกับมัน กับภาพเก่าๆ เรื่องในอดีต ที่ไม่อาจจะหวนกลับมาได้อีก...
และก็แปลก ที่บางเรื่องเรากลับไม่เอามันมาเป็นสาระสำคัญอะไรของชีวิตเลยด้วยซ้ำ
ความรัก ความหลง ความสุข ความผิดหวัง ความเจ็บปวด ความทุกข์ และความโง่
จะมีคนที่โชคดีซะกี่คนที่รู้ว่ามันต่างกันยังไง?
ผมคงไม่ใช่คนเดียวที่แยกไม่ออกใช่ป่าวคับ...
และคงไม่แปลกที่คนๆนึงอาจจะรู้สึกอ่อนแอได้บ้างเป็นบางครั้ง
ผมได้แต่หวังว่าพรุ่งนี้จะมีแรงขึ้นมายืนขึ้น และสู้ต่ออีกครั้ง
เพียงแต่ผมต้องตอบคำถามให้ได้ก่อนว่า อันที่จริงแล้ว
"ผมสู้เพื่ออะไรอยู่?" ... "เพื่อใคร?"...
เพื่อนผมสอนผมไว้ว่า:
ความรักก็เหมือนทราย ...
หากเรากำแน่นไป ทรายก็จะหลุดออกมาตามรอยแยกของมือได้
แต่ถ้าเรากำหลวมเกินไป มันก็จะร่วงออกจากมืออีก
เราต้องเรียนรู้ที่จะกำมันให้พอดีๆ ไม่หลวมเกินไป ไม่แน่นเกินไป หากแต่มีช่องว่างให้มันบ้าง
เท่านี้ทรายก็จะอยู่ในมือเราตลอดไป
ขอบคุนนะเวช... ขอบคุนที่คอยให้มุมมองอะไรดีๆแบบนี้กับบอน
แด่เพื่อนผมคนนึง
Monday, January 12, 2009
Depository Reciept (DR)
DR เป็นหลักทรัพย์ชนิดเปลี่ยนมือได้ชนิดหนึ่งที่ซื้อขายกันในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศหนึ่งๆ แต่เป็นตัวแทนหลักทรัพย์ (มักจะเป็นตราสารทุน) ที่ออกโดยบริษัทมหาชนต่างประเทศอีกทีหนึ่ง โดยนักลงทุนดังกล่าวจะได้สิทธิในการถือหุ้นต่างๆ รวมถึง สิทธิในการออกเสียง และสิทธิในเงินปันผลเหมือนนักลงทุนในต่างประเทศที่ออกหลักทรัพย์ดังกล่าวทุกประการ
DR จึงเหมือนกับใบสำคัญใบนึงที่เปิดโอกาสให้นักลงทุนมีสิทธิถือครองตราสารทุนของประเทศอื่นๆนั่นเอง
ADR (American DR):
เป็น DR ที่ออกภายในประเทศอเมริกา และมีการซื้อขายกันในตลาดหลักทรัพย์ที่อเมริกา เช่น NYSE และ AMEX โดยเปิดโอกาสให้นักลงทุนชาวอเมริกันในการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศทั่วโลก โดยหลักทรัพย์จริงๆในต่างประเทศที่ DR อ้างถึงจะถูกถือครองด้วยสถาบันทางการเงินของประเทศอเมริกาที่มีสาขาอยู่ ณ ประเทศนั้นๆ
(ทั้งนี้ ส่วนต่างราคาเมื่อขาย และเงินปันผลจะถูกแสดงเป็นหน่วยดอลล่าสหรัฐ)
GDR (Global DR):
มีลักษณะคล้ายกับ ADR แต่ GDR จะออกร่วมกันหลายๆประเทศ เพื่ออ้างอิงถึงหลักทรัพย์ในต่างประเทศใดๆประเทศหนึ่ง ซึ่งมักจะถูกซื้อขายกันในตลาดหลักทรัพย์ที่ยุโรป เช่น London Stock Exchange
(ทั้งนี้ ส่วนต่างราคาเมื่อขาย และเงินปันผลส่วนใหญ่จะถูกแสดงเป็นหน่วยดอลล่าสหรัฐ หรือยูโร)
IDR (International DR):
เทียบเท่ากับ ADR แต่ออกในประเทศอื่นๆที่ไม่ใช่อเมริกา
ตัวอย่าง
ถ้าบริษัทน้ำมันในรัฐเซียแห่งหนึ่งต้องการนำหุ้นของบริษัทตัวเองเข้าไปซื้อขายใน NYSE ทีอเมริการในรูปแบบของ ADR
1) บริษัทนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์อเมริกาที่มีสาขาต่างประเทศที่รัฐเซียจะต้องไปซื้อหลักทรัพย์ของบริษัทน้ำมันดังกล่าวจริงๆก่อนที่ตลาดหลักทรัพย์ประเทศรัฐเซีย
2) หลังจากนั้นจึงทำการส่งมอบทรัพย์ดังกล่าวให้กับ Custodian Bank ที่ของอเมริการที่มีสาขาที่รัฐเซีย (ทำหน้าที่เป็น Depository Bank)
3) Depository Bank อเมริกาเดียวกันนี่เอง (เช่น the Bank of New York) ทำหน้าที่ออก ADR ในอเมริกาอีกทีนึงหลังจากที่ได้รับการยืนยันจาก Custodian ที่รัฐเซีย
4) Depository Bank ที่อเมริกาส่งมอบ ADR ให้กับบริษัทนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อซื้อขายที่ NYSE
หมายเหตุ:
ราคาของ ADR และหลักทรัพย์ที่อ้างอิงจริงๆนั้นจะถูกรักษาให้มีค่าใกล้เคียงกันมากที่สุดด้วยการ arbitrage ของบริษัทนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์นั่นเอง
การทำ DR นอกจากจะช่วยให้การระดมทุนของบริษัทเกิดขึ้นในวงกว้างขึ้นเป็นระดับโลก ยังเป็นการทำให้นักลงทุนมี diversification ของ portfolio มากขึ้นอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม DR ไม่ได้ทำให้ currency risk และ economic risk หายไปแต่อย่างใด
ความเป็นจริงแล้ว DR อาจจะซื้อขายกันแบบ OTC แทนการซื้อขายในตลาดก็ได้
from: http://www.investopedia.com/articles/03/091003.asp
Subscribe to:
Posts (Atom)